“โครเอนเก” สั่งปรับปรุงสนาม 2 แสนล้านรับบอลโลก 2026 หลัง “ฟีฟ่า” ชี้ยังมีจุดบอด
วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน 2565 เดลี่เมล สื่อกีฬาชื่อดังของอังกฤษ รายงานว่า สแตน โครเอนเก ประธานสโมสรฟุตบอล อาร์เซนอล และ สโมสรอเมริกันฟุตบอล ลอสแอนเจลิส แรมส์ มีความคิดที่จะปรับเปลี่ยนรังเหย้า โซ-ไฟ สเตเดียม ในเมืองลอสแอนเจลิส เพื่อขอเสนอตัวเป็น 1 ในสนามที่จัดฟุตบอลโลก 2026 หรืออีก 4 ปีข้างหน้า
สนาม โซ-ไฟ สเตเดียม เพิ่มจะเปิดใช้งานมาตั้งแต่ช่วงปี 2020 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นสนามที่แพงที่สุดในโลกมากถึง 3.8 พันล้านปอนด์ หรือราวๆ 1.75 แสนล้านบาท แต่กลับถูกฟีฟ่าชี้แนะว่าให้ปรับปรุงสนามให้ใหญ่ขึ้นเนื่องจากสนามเล็กเกินไปกว่าที่จัดการแข่งขันฟุตบอล
ฟุตบอลโลก 2026 จัดขึ้นโดยมีเจ้าภาพทั้งหมด 3 ชาติทั้ง แคนาดา, เม็กซิโก และสหรัฐอเมริกา ซึ่ง สหรัฐฯ มีสนามที่ได้สิทธิ์จัดการแข่งขันมากถึง 11 แห่ง ซึ่ง ลอสแอนเจลิส มีเพียงแค่ โรส โบว์ เท่านั้นที่ยังได้สิทธิ์จัดการแข่งขัน ซึ่งหากว่า โซ-ไฟ สเตเดียม สามารถปรับปรุงได้ตามมาตรฐานของฟีฟ่า ก็มีลุ้นที่จะได้เป็นสนามที่ 12 ที่จะจัดการแข่งขันในอีก 4 ปีข้างหน้า.
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.