Football Sponsored

ต้องขึ้นให้แล้ว! เปิดค่าเหนื่อยแข้งอาร์เซน่อล หลังซาก้าเตรียมรับเพิ่ม4เท่า – สยามกีฬา

Football Sponsored
Football Sponsored

เดอะ ซัน สื่อจากอังกฤษทำการเปิดโผค่าเหนื่อยแข้ง อาร์เซน่อล ที่ได้รับอยู่ในขณะนี้ หลังจากมีรายงานว่าสโมสรเตรียมเพิ่มค่าแรงให้กับ บูคาโย่ ซาก้า มากกว่าเดิมถึง 4 เท่า หลังจากตอนนี้ปีกทีมชาติอังกฤษได้ค่าจ้างน้อยสุดเป็นอันดับสองของทีม

    ซาก้า วัย 20 ปี ก้าวขึ้นมาเป็นกำลังสำคัญให้กับ อาร์เซน่อล ได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในซีซั่นนี้ที่เจ้าตัวทำผลงานได้ดีสุดนับตั้งแต่ถูกดันมาเล่นให้ทีมชุดใหญ่ตั้งแต่ปี 2018 จากผลงานยิงไปแล้วถึง 10 ประตูจากการลงเล่น 33 เกมทุกรายการ ช่วยให้ “ปืนใหญ่” ขึ้นมารั้งที่ 4 ของตารางมีลุ้นที่จะคว้าตั๋วกลับไปลุยในศึกยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีก อีกครั้ง 

    อย่างไรก็ตามด้วยความที่เจ้าตัวเหลือสัญญาค้าแข้งกับ “ปืนใหญ่” จนถึงปี 2023 พร้อมออปชั่นขยายเพิ่มอีก 1 ปี อีกเพียง 1 ปี ทำให้มีรายงานว่าบอร์ดบริหารของ อาร์เซน่อล เตรียมจะยื่นสัญญาฉบับให้เจ้าหนูรายนี้พิจารณา พร้อมเพิ่มค่าเหนื่อยจากเดิมที่รับอยู่น้อยสุดเป็นอันดับสองของทีมอยู่ที่ 30,000 ปอนด์ต่อสัปดาห์ (ประมาณ 1.3 ล้านบาท) เป็น 125,000 ต่อสัปดาห์ (ประมาณ 5.4 ล้านบาท) หรือมากกว่าเดิมถึง 4 เท่าเลยทีเดียว เพื่อเป็นการตอบแทนผลงานที่ยอดเยี่ยม 

    หากสุดท้าย ซาก้า ต่อสัญญาใหม่จะทำให้เขากลายเป็นนักเตะที่ได้ค่าเหนื่อยมากสุดเป็นอันดับที่ 4 ของสโมสร แซงหน้า เบน ไวท์ ปราการหลังเพื่อนร่วมชาติที่รับอยู่ที่ 120,000 ปอนด์ต่อสัปดาห์ (ประมาณ 5.2 ล้านบาท)

    ขณะที่เจ้าของสถิติที่ฟันค่าเหนื่อยมากสุดของ “เดอะ กันเนอร์ส” เวลานี้คือ โธมัส ปาร์เตย์ มิดฟิลด์ชาวกาน่า ที่รับอยู่ที่ 200,000 ปอนด์ต่อสัปดาห์ (ประมาณ 8.7 ล้านบาท) โดยขึ้นมาแทน ปิแอร์ เอเมอริค โอบาเมย็อง หัวหอกชาวกาบองที่ย้ายไปอยู่กับ บาร์เซโลน่า หลังเคยรับมากสุดที่ 350,000 ปอนด์ต่อสัปดาห์ (ประมาณ 14 ล้านบาท) 

อันดับค่าเหนื่อยนักเตะ อาร์เซน่อล (ปอนด์ต่อสัปดาห์)
1.โธมัส ปาร์เตย์ – 200,000 
2.อเลซ็องดร์ ลากาแซตต์ – 182,000
3.นิโกล่าส์ เปเป้ – 140,000
4.เบน ไวท์ – 120,000 
5.คีแรน เทียร์นีย์ – 110,000 
6.แบรนด์ เลโน่ – 100,000 
7.กรานิต ชาก้า – 100,000 
8.กาเบรียล มาร์ติเนลลี่ – 90,000 
9.มาร์ติน โอเดอการ์ด – 79,000 
10.เซดริค โซอาเรส – 75,000 
11.แอรอน แรมส์เดล – 62,000 
12.ทาเคฮิโระ โทมิยาสุ – 56,000 
13.โมฮาเหม็ด เอลเนนี่ – 52,000 
14.แซมบี้ โลค็องก้า – 52,000 
15.กาเบรียล มากัลเญส – 50,000
16.เอ็ดดี้ เอ็นเคเทียห์ – 45,000 
17.ร็อบ โฮลดิ้ง – 40,000 
18.เอลมิล สมิธ โรว์ – 40,000 
19.บูคาโย่ ซาก้า – 30,000 
20.นูโน่ ตาวาเรส – 27,000 

      

อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.