ประธาน ลา ลีกา จวก แมนฯซิตี้ – เปแอสเช อัดฉีดเงินจากน้ำมัน-เอาเปรียบทีมอื่น
ฆาเบียร์ เตบาส ประธานลา ลีกา สเปน ของขึ้นโจมตีสองทีมเงินหนาแห่งยุคอย่าง “เรือใบสีฟ้า” แมนฯ ซิตี้ และ ปารีส แซงต์ แชร์กแมง ที่เอาแต่อัดฉีดเงินจากนอกอุตสาหกรรมฟุตบอลมาสร้างทีม
เกาะติดข่าว กดติดตามข่าวสด
ประธานลีกแดนกระทิงดุออกตัวชัดเจนในการยืนเป็นฝั่งตรงข้ามกับ แมนฯซิตี้ และ เปแอสเช ที่มีมลทินในการละเมิดกฎการเงินจากทางสหพันธ์ฟุตบอลยุโรป(ยูฟ่า) และนโยบายทางการเงินของทั้งสองทีมเอาเปรียบทีมอื่นเพราะใช้เงินจากเจ้าของทีมในการโด๊ปเงินเข้าสู่ระบบ
“ราคานักฟุตบอลที่เรากำลังพูดถึงมันยากที่จะจ่ายได้ แต่ไม่ใช่สโมสรที่มีรัฐเป็นเจ้าของอย่าง แปแอสเช หรือ แมนฯ ซิตี้ ที่นำเงินจากอุตสาหกรรมน้ำมันและแก๊สมาซื้อนักฟุตบอล พวกเขาใช้เล่ห์เหลี่ยมในการดำเนินการ ตอนนี้เงินในตลาดมันลดลงไป 8,000 ล้านยูโร แต่ แปแอสเช หรือ ซิตี้ ยังเสริมทีมได้ไม่มีปัญหา แต่ไม่ใช่กับทีมอื่นๆ”
- อยู่บ้านยังจะโดนแบน เนย์มาร์ งานเข้า ยูฟ่า จ้องเล่นงานฐานทวีตวิจารณ์ลูกโทษ
- แมนฯซิตี้ รอดชนะอุทธรณ์ ศาลกีฬาฯ ตัดสินพ้นโทษแบนฟุตบอลยุโรป 2 ปี
- รวยเหลือเกิน! สื่อเผยภาพเรือยอชต์ใหม่ โรมัน อับราโมวิช ราคากว่าหมื่นล้านบาท
“สำหรับผมความเชื่อมั่นในกฎการเงิน (ฟีฟ่า ไฟแนนเชียล แฟร์เพลย์) ไม่ได้มากนัก เพราะกฎที่วางไว้ควรจะถูกปรับปรุงให้เข้มงวดมากกว่านี้ ยูฟ่า อาจจะลงโทษพวกเขาได้ แต่สุดท้าย ซีเอเอส(ศาลอนุญาโตตุลาการทางการกีฬา) ก็ยกเลิกบทลงโทษนั้นไป ตอนนี้เลยไม่รู้ว่าปัญหาอยู่ที่อะไรระหว่าง ยูฟ่า หรือ ซีเอเอส ซึ่งศาลกีฬาเองควรจะไปทบทวนและสืบสวนอีกครั้งว่าพวกเขาทำอะไรบ้าง”
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.