Football Sponsored

“โซลชาร์” เตือน 2 แข้งดัง หลังมีข่าวอาจแหกกฎสโมสรเพื่อรับใช้ชาติ – ไทยรัฐ

Football Sponsored
Football Sponsored

ก่อนหน้านี้มีข่าวว่า ทั้ง 20 สโมสรในศึกฟุตบอลพรีเมียร์ลีก ได้มติโหวตอย่างเป็นเอกฉันท์ว่าจะไม่ปล่อยนักเตะไปรับใช้ทีมชาติ ในประเทศที่เป็นกลุ่มเสี่ยงติดบัญชีแดง จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เนื่องด้วยผู้เล่นที่กลับมาจากประเทศนั้นๆ จะต้องกักตัวเป็นเวลา 10-14 วัน ตามกฎข้อบังคับของอังกฤษ

ซึ่งหลังจากนั้นไม่นาน ก็มีกระแสว่านักเตะหลายรายเริ่มแสดงความไม่พอใจ ที่โดนบังคับให้ละทิ้งชาติในยามจำเป็น และมีแข้งดังบางส่วนที่อาจแหกกฎสโมสร เพื่อบินกลับไปรับใช้ชาติในช่วงต้นเดือนหน้า รวมถึงสองแข้งดังของปิศาจแดงทั้ง เฟร็ด และ เอดินสัน คาวานี

ทำให้ล่าสุด โอเล กุนนาร์ โซลชาร์ ผู้จัดการทีมแมนฯ ยูไนเต็ด ได้ออกมาขู่และเตือนนักเตะในสังกัดว่า ควรคิดให้ดีก่อนตัดสินใจอะไรไป เพราะอาจพลาดโอกาสสำหรับในชีวิตไปก็ได้

“ผมไม่อยากเป็นผู้จัดการทีมที่ชอบบ่นหรอกนะ แต่มันเป็นความจริงที่คุณต้องกักตัวถึง 10 วันโดยไม่ได้ซ้อม ไม่มีโอกาสได้เรียกความฟิต และต้องใช้เวลาอีกราว 10-14 วัน เพื่อกลับมาอยู่ในระดับเดิมอีกครั้ง จากนั้นคุณก็ต้องบินอีกแล้ว”

“มันแทบเป็นไปไม่ได้เลยทั้งกับสโมสรและตัวนักเตะ ที่จะทำแบบนั้น เราเข้าใจดีในเรื่องของกฎเกณฑ์และสถานการณ์ที่เริ่มขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และนั่นคือเหตุผลที่ทำไมเราจึงต้องปฏิบัติตามกฎ”

“ผมไม่อยากบ่นอะไรหรอก แต่ถ้ามีทางเลือกสำหรับผม ระหว่างการเล่นให้กับนอร์เวย์หรือแมนฯ ยูไนเต็ด ผมจะรู้ได้โดยทันทีว่าใครคือเจ้านายของผม ถึงแม้ว่าอีกฝ่ายจะเป็นชาติบ้านเกิด แต่นั่นคือกฎที่เป็นอยู่ในตอนนี้” โซลชาร์ กล่าว

ทั้งนี้นอกจาก 2 แข้งดังของปิศาจแดง ยังมีนักเตะอเมริกาใต้อีกหลายรายที่อาจขัดใจต้นสังกัด เพื่อบินกลับไปรับใช้ชาติ ไม่ว่าจะเป็น เอมิเลียโน มาร์ติเนซ, โจวานนี โล เซลโซ, คริสเตียน โรเมโร และ เอมิเลียโน บูเอนเดีย.

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.