Football Sponsored

Manchester United ไม่มีถ้วย 4 ปี รายได้โตหรือไม่ – Brand Inside

Football Sponsored
Football Sponsored

จากข่าว Manchester United เจรจาซื้อ Cristiano Ronaldo กลับมา ส่งผลให้มูลค่าหุ้นเพิ่ม สะท้อนความเชื่อมั่นนักลงทุน แต่เป็นเวลา 4 ฤดูกาลแล้วที่ทีมไม่มีแชมป์ติดมือ ลองมาดูภาพรวมธุรกิจของทีมนี้กันว่าเป็นอย่างไร

รายได้ และกำไรสุทธิ แทบไม่เติบโต

นับตั้งแต่การได้แชมป์ Community Shield, EFL Cup และ UEFA Europa League (UEL) ฤดูกาล 2016-17 หลังจากนั้นอีก 4 ฤดูกาล Manchester United ไม่ได้แชมป์รายการใด ๆ ติดมือ ที่ใกล้เคียงที่สุดคือการคว้ารองแชมป์ UEL ฤดูกาล 2020-21 และเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้รายได้ และกำไรสุทธิของทีมแทบไม่เติบโต

หากนับตามปีปฏิทินของทีมที่สิ้นสุดเดือน มิ.ย. ของทุกปีจะพบว่า ในปีปฏิทินที่สิ้นสุดเดือน มิ.ย. 2018 ทีมมีรายได้รวม 590 ล้านปอนด์ และสิ้นเดือน มิ.ย. 2019 เพิ่มเป็น 627 ล้านปอนด์ ก่อนเดือน มิ.ย. 2020 ลดลงเหลือ 509 ล้านปอนด์ ส่วนปีปฏิทิน 2021 ยังไม่ประกาศ โดย 9 เดือนของปีปฏิทินนั้น ปิดรายได้รวม 400 ล้านปอนด์

ในมุมกำไรขาดทุนสุทธิ ปีปฏิทินที่สิ้นสุดเดือน มิ.ย. 2018 Manchester United ขาดทุนสุทธิ 37 ล้านปอนด์ ปีถัดมามีกำไรสุทธิ 18 ล้านปอนด์ และปีปฏิทินล่าสุดขาดทุนสุทธิ 23 ล้านปอนด์ ส่วน 9 เดือนล่าสุดของปีปฏิทิน 2021 มีกำไรสุทธิ 15 ล้านปอนด์ เรียกว่ามีขึ้นมีลง แต่อยู่ในฝั่งขาดทุนมากกว่า

ขายสินค้าประคองตัว เพราะตั๋ว และลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดลดลง

หลังรับรู้เรื่องรายได้รวม และกำไรขาดทุนสุทธิไปแล้ว คราวนี้ลองมาดูที่แหล่งรายได้ของ Manchester United ดูบ้าง โดยทางทีมแบ่งรูปแบบรายได้เป็น 3 ทางคือ Commercial หรือการจำหน่ายสินค้า และได้รับสปอนเซอร์, Broadcasting หรือค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสด และ Matchday หรือรายได้จากการจำหน่ายตั๋วเข้าชมการแข่งขัน

แม้มีปัจจัยลบทั้งทีมผลงานไม่ดี และโรค COVID-19 ระบาด แต่รายได้ Commercial ยังประคองตัว เป็นสัดส่วนกว่าครึ่งหนึ่งของรายได้รวมของทีม แสดงถึงความเชื่อมั่นของแฟน ๆ ที่พร้อมสนับสนุนทีม โดย Manchester United เคลมว่า ทีมมีแฟนบอลกว่า 1.1 ล้านคนทั่วโลก เป็นอันดับ 1 ของสโมสรฟุตบอล และโลกกีฬา

ในทางกลับกัน Broadcasting และ Matchday กลับทำได้ไม่ดีนัก โดย Broadcasting มาจากการต้องไปแข่งขันรายการ UEL ซึ่งสร้างรายได้น้อยกว่า UEFA Champions League หลายเท่าตัว ส่วน Matchday ในปีปฏิทิน 2020 ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรค COVID-19 ไปเต็ม ๆ ผ่านการต้องแข่งขันแบบไม่มีคนดูในสนาม

ฟื้นความเชื่อมั่น พร้อมดึงนักเตะดังร่วมทีม

จากการประกาศเป็นผู้ก่อตั้ง European Super League เมื่อต้นปี 2021 ทำให้แฟนบอลแสดงความไม่เห็นด้วย และอาจส่งผลกับภาพลักษณ์ของทีมในอนาคตได้ ผู้เขียนจึงเชื่อว่า ทีมบริหาร Manchester United ต้องการฟื้นความเชื่อมั่น และรักษาความสัมพันธ์กับแฟนบอลไว้ดีเหมือนเดิม เพื่อใช้เป็นแต้มต่อในการสร้างรายได้ในอนาคต

จึงเป็นที่มาของการทุ่มทุนซื้อนักเตะในฤดูกาล 2021-22 ทั้ง Jadon Sancho, Raphel Varane และล่าสุดคือ Cristiano Ronaldo แม้ทางทีมจะมีหนี้สินรวมถึงสิ้นเดือน มี.ค. 2021 ราว 443 ล้านปอนด์ เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาของปีก่อน 3.4%

ขณะเดียวกันในไตรมาส 3 2021 ที่สิ้นสุดเดือน มี.ค. 2021 ทาง Manchester United มีการลงทุนในกลุ่มนักเตะระดับ First Team หรือทีมชุดใหญ่ เพื่อพร้อมแข่งขันกับทีมต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และคงต้องดูกันว่าที่สุดแล้วปีปฏิทิน 2021 ทางทีมจะประกาศผลประกอบการออกมาอย่างไร

สรุป

Manchester United เป็นทีมใหญ่ และมีอดีตที่สวยงาม แต่ช่วงหลังเริ่มห่างหายจากความสำเร็จ และจากสถิติเดิมที่หากทีมมือเปล่า 5 ฤดูกาลติดต่อกัน ก็จะเทียบเท่ากับที่ทีมล้มเหลวจนต้องตกชั้นในฤดูกาล 1973-74 แต่ส่วนตัวเชื่อว่าด้วยการเสริมทัพขนาดนี้ ฤดูกาล 2021-22 น่าจะมีแชมป์ติดมือกลับมาบ้าง

มูลค่าหุ้นของ Manchester United

อ้างอิง // Manchester United

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.