คุโบะสร้างสถิติยิงเร็วสุดในนามทีมชาติญี่ปุ่นของศึกอลป. – สยามกีฬา
ทาเคฟุสะ คุโบะ กองกลางวัย 20 ของทีมชาติญี่ปุ่น ของสโมสรเรอัล มาดริด สร้างสถิติใหม่ให้วงการฟุตบอลญี่ปุ่น หลังตะบันประตูขึ้นนำ เม็กซิโก ในการแข่งขันฟุตบอลชายในกีฬาโอลิมปิก ก่อนจะจบด้วยชัยชนะเหนือเม็กซิโก 2-1
ควันหลงศึก ฟุตบอลชายยู-23 โอลิมปิก 2020 รอบแบ่งกลุ่ม นัดที่สองของกลุ่มเอ ประจำวันอาทิตย์ที่ 25 กรกฏาคม 2564 ที่สนามไซตามะ สเตเดี้ยม ผลปรากฎว่า ญี่ปุ่น ชนะ เม็กซิโก 2-1
โดยเกมระหว่างที่ทีมชาติญี่ปุ่นพบกับทีมชาติเม็กซิโก ทาเคฟุสะ คุโบะ กองกลางวัย 20 ปี ซัดประตูเบิกร่องใส่ ทีมชาติเม็กซิโก โดยใช้เวลาเพียง 5 นาที 55 วินาที เท่านั้น ทำให้ลูกยิงของ คุโบะ ถูกบันทึกว่าเป็นการยิงประตูที่เร็วที่สุดให้ทีมชาติญี่ปุ่นนับตั้งแต่โอลิมปิกมา
ขณะที่ประตูที่เร็วสุดของฟุตบอลโอลิมปิกชาย ยังเป็นของ เนย์มา ดาวยิงทีมชาติบราซิล ที่ใช้เวลายิงประตูใส่ทีมชาติฮอนดูรัส เพียง14 วินาที ในปี 2016 ที่ประเทศบราซิล ทั้งนี้ คุโบะ ยังเป็นนักเตะญี่ปุ่นคนที่สามที่ยิงประตูติดต่อกัน 2 นัดในโอลิมปิก นับตั้งแต่ ริวอิจิ ซุงิยามะ อดีตทีมชาติญี่ปุ่น ที่เล่นในปี 1964 และ ทากูมะ อาซาโนะ ที่ยิงได้ในปี 2016
สำหรับการแข่งขันฟุตบอลชายในกีฬาโอลิมปิก จะชิงชัยเหรียญทองในวันที่ 7 สิงหาคม 64
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.