แข้งใหม่ประเดิมซัด อาร์เซนอล อุ่นแข้งไล่เจ๊า เรนเจอร์ส สุดมัน 2-2 – ไทยรัฐ
การแข่งขันฟุตบอลกระชับมิตรสโมสร ประจำวันเสาร์ที่ 17 ก.ค. 64 ที่สนาม ไอบร็อกซ์ สเตเดียม “กลาสโกว์ เรนเจอร์ส” แชมป์สกอตติช พรีเมียร์ลีก พบกับ “ปืนใหญ่” อาร์เซนอล จากพรีเมียร์ลีก อังกฤษ
เปิดฉากครึ่งแรก นาทีที่ 14 เรนเจอร์ส ได้ประตูขึ้นนำ 1-0 จากการโหม่งของ เลออน บาโลกุน จากนั้นนาทีที่ 23 อาร์เซนอล ไล่ตีเสมอเป็น 1-1 จากจังหวะที่ นูโน ตาวาเรส แข้งใหม่ป้ายแดง พาบอลกระชากเข้าเขตโทษก่อนซัดเข้าไปตุงตาข่าย ก่อนจะจบครึ่งแรกไปด้วยสกอร์นี้
กลับมาเล่นต่อครึ่งหลัง นาทีที่ 75 เรนเจอร์ส ได้ประตูขึ้นนำอีกครั้ง 2-1 จากจังหวะเปิดลูกเตะมุมจากฝั่งขวาเข้ากรอบเขตโทษ และเป็น เซดริก อิตเทน ขึ้นโหม่งเข้าไปอย่างสวยงาม
ถึงนาทีที่ 83 อาร์เซนอล ไม่ยอมตาย ตามตีเสมอเป็น 2-2 จากการซัดในเขตโทษของ เอ็ดดี เอ็นเคเทียห์ บอลพุ่งเสียบเสาแรกเข้าไปอย่างเฉียบขาด
ช่วงเวลาที่เหลือทั้งสองทีมทำอะไรกันเพิ่มไม่ได้ จบเกม อาร์เซนอล เสมอ กลาสโกว์ เรนเจอร์ส 2-2
ภาพ: twitter.com/Arsenal
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.