Football Sponsored

“โค้ชเศก” เฉ่ง “ช้างศึก” ไร้DNAฟุตบอล ไม่มีไทยแลนด์เวย์อย่าหวังก้าวหน้า – สยามกีฬา

Football Sponsored
Football Sponsored

“โค้ชเศก” เศกสรร ศิริพงษ์ กุนซือโปรไลเซนต์จาก กำแพงเพชร เอฟซี ที่จะถูกใส่ชื่อเป็นเฮดโค้ชของทีมราชบุรี เอฟซี สู้ศึกเอเอฟซี แชมป์เปี้ยนส์ลีก2021 เปิดเผยความในใจกับความล้มเหลวของทีมชาติไทยที่เพิ่งตกรอบจากเวทีคัดเลือกฟุตบอลโลก2022โซนเอเซีย รอบสอง ผ่านทางแฟนเพจ “เศกสรร ศิริพงษ์” ซึ่งเผยชัดเจนว่า ทีมชาติไทยชุดนี้ไม่มีการนำไทยแลนด์เวย์มาใช้ จึงเป็นที่มาที่หลายคนถามถึงมาตรฐานของนักฟุตบอลไทยทุกวันนี้ด้อยลงหรือไม่อย่างไร

    โค้ชเศก ร่ายยาวว่า  “สำหรับคำถามที่ว่า ไทยแลนด์เวย์ ได้ถูกนำมาใช้หรือไม่อย่างไรกับทีมชาติไทยชุดปัจจุบันนะครับ ถ้านำมาใช้แล้วทำไมไม่เห็นจะมีรูปทรงการเล่นที่ชัดเจน หรือทำไมถึงไม่ถูกนำมาใช้”

    “ไทยแลนด์เวย์ กำเนิดขึ้นเมื่อประมาณปี2017 เขียนโดยประธานพัฒนาเทคนิคในยุคนั้น คือ โค้ชเฮง วิทยา เลาหกุล ซึ่งทางวิทยากรของสมาคมกีฬาฟุตบอลได้รับมอบหมายให้นำไทยแลนด์เวย์ไปเผยแพร่ในการอบรมโค้ชต่างๆ แต่เท่าที่ผมติดตามเพื่อประเมินฯ ปรากฏว่ามีคนไม่เข้าใจไทยแลนด์เวย์มากนัก ในขณะเดียวกันก็มีคนนำไปใช้ในระดับที่น้อยมาก ซึ่งอยากจะมากล่าวถึงไทยแลนด์เวย์จะนำไปใช้ได้อย่างไร”

    “ผมจะยกตัวอย่างเป็นบางข้อ เช่น มีหลายๆท่านชื่นชมการเล่นของน้องธนวัฒน์ ซึ้งจิตถาวร ที่มาจากเลสเตอร์ ซึ่งเวลาเขาได้บอลแล้วมีการจ่ายบอลทะลุทะลวง มีการเลี้ยงบอลไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว และเมื่อเวลาเขาเสียบอลเขาก็แย่งกลับคืนอย่างรวดเร็ว ในไทยแลนด์เวย์ก็มีครับ หัวข้อเหล่านี้ ถ้าเรานำไปฝึกเด็ก”

    “ซึ่งหัวข้อต่างๆเหล่านี้ จาก 3 ใน 11 ข้อของไทยแลนด์เวย์ ถ้าเรานำไปฝึกเด็ก เราสามารถใช้แบบฝึกได้ในทุกๆวัน เรียกว่าการใส่ DNA ให้กับเยาวชนครับ เช่นการฝึกเด็กเรื่องเล่นลิงชิงบอล เวลาเสียบอลเรามักจะหยุด แล้วเปลี่ยนคนใหม่เข้ามาเล่น แต่จริงๆแล้วเราสามารถเอาตรงนี้มาฝึกได้ นี่คือการยกตัวอย่างในการใส่ DNAฟุตบอล ซึ่งเราทำกันอยู่แล้ว แต่เรามองข้ามไป”

    “ไม่เว้นแม้กระทั่งการฝึกการเลี้ยงบอล อาทิ เราอาจจะมีมาร์คเกอร์หลายๆสีในขณะที่เด็กเลี้ยงบอล แล้วให้เด็กขานชื่อว่าสีนั้นคือสีอะไร ก็จะทำให้เด็กเงยหน้าในการเล่นฟุตบอล จะทำให้เขาพัฒนาการมีวิสัยทัศน์ในการเล่น ในการมองไปข้างหน้า ซึ่งเด็กไทยมักจะก้มหน้าก้มตาเลี้ยงบอลในลักษณะของการเลี้ยงด้วยความเคยชิน หรือจะเรียกว่าท่องจำนั่นแหละครับ”

    “การฝึกเด็กแบบนี้ตั้งแต่แรกก็ะจะติดเป็นพฤติกรรมถาวร พอมาเล่นอาชีพในตอนที่เขาโตขึ้นก็จะทำให้สิ่งเหล่านี้ติดแบบอัตโนมัต”

    “เพราะฉะนั้น ไทยแลนด์เวย์ไม่ได้ถูกนำใช้ในทีมชาติไทยชุดนี้นะครับ เนื่องจากว่าทางเฮดโค้ชเขาน่าจะมีแนวทางของเขา เพียงแต่ว่าเด็กเราที่เป็นนักฟุตบอลทีมชาติอาจจะไม่ได้มี DNAฟุตบอล ตรงกับแท็คติกของโค้ช เราจึงจำเป็นที่จะต้องมาพัฒนาเยาวชนเราให้มี DNAฟุตบอลในทางที่ถูกต้อง”

    “ถ้าเราทำตามหลักไทยแลนด์เวย์ครบทั้ง 11 ข้อ ฟุตบอลเราดีแน่นอน เพียงแต่ว่าใครหละที่จะทำให้สิ่งเหล่านี้มันออกมาเป็นรูปธรรมในการที่จะไปเผยแพร่เป็นตัวอย่างให้กับโค้ชในระดับรากหญ้าต่างๆ”

    “น่าจะต้องมีการกำหนดกฏเกณฑ์ให้ทุกอะคาเดมี่ของเยาวชน ทุกอะคาเดมี่ของสโมสรแล้วก็ทุกโรงเรียน ฝึกเด็กๆไปในทิศทางเดียวกัน พอเข้ามาสู่ระบบฟุตบอลอาชีพ เราสามารถที่จะนำพิมพ์เขียวเหล่านี้มามอบให้กับสโมสรฟุตบอลอาชีพในทุกระดับของประเทศให้ฝึกเด็กไปในแบบนี้ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน”

    “เราจะเห็นได้ชัดว่าฟุตบอลที่ญี่ปุ่น จะเล่นฟุตบอลในลักษณะที่ใกล้เคียงกัน คือการเล่นไปข้างหน้า , การไปข้างหน้าทั้งระบบ เขาเปลี่ยนจากรุกเป็นรับ เปลี่ยนจากรับเป็นรุกอย่างรวดเร็วเหมือนอย่างที่เป็น เจแปนเวย์ในปัจจุบัน” 

    “ครั้งนี้ก็อยากจะชี้แจงให้ทราบครับว่า ไทยแลนด์เวย์ ไม่ได้ถูกนำมาใช้ในทีมชาติชุดปัจจุบัน และไม่แน่ใจว่าจะถูกนำมาใช้ในทีมชาติอนาคตหรือเปล่า เพราะวันนี้มีคนเริ่มทำให้ไม่ถึง 1 เปอร์เซนต์ด้วยซ้ำ มีคนเข้าใจผมให้ไม่ถึง 10 เปอร์เซนต์ด้วยซ้ำ”

    “เพราะฉะนั้นหน้าที่ของสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย คือ การกระจายเรื่องราวเหล่านี้ รวมถึงการติดตามประเมินผลด้วย เสร็จแล้วก็ทำหนังสือเพื่อที่จะขอความร่วมมือจากอะคาเดมี่ , โรงเรียน , สโมสรให้เล่นฟุตบอลไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนรายละเอียดและรูปแบบการเล่นก็ขึ้นอยู่กับเขาอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าเราฝึกเรื่องพฤติกรรมการเล่น หรือ DNAฟุตบอล ให้มันถูกต้องแต่เด็ก ซึ่งตอนนั้นโอกาสที่เราจะประสบความสำเร็จในระดับเอเชียเพื่อก้าวไปสู่ระดับโลกน่าจะเป็นจริงกว่าในยุคปัจจุบันนี้”

อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.