Football Sponsored

“เนวิน” โต้เฟกนิวส์ ลั่นบุรีรัมย์ไม่มีแอสตร้าเซนเนก้า 1 ล้านโดส – ผู้จัดการออนไลน์

Football Sponsored
Football Sponsored

เผยแพร่:   ปรับปรุง: โดย: ผู้จัดการออนไลน์


เฟซบุ๊ก “ลุงเนวิน” ของ นายเนวิน ชิดชอบ ยืนยันจังหวัดบุรีรัมย์ ไม่มีแอสตร้าเซนเนก้า 1 ล้านโดส ตามกระแสข่าว ล่าสุด ได้รับการจัดสรรเพียง 24,000 โดสเท่านั้น

วันนี้ (17 มิ.ย.) เฟซบุ๊ก “ลุงเนวิน” ของนายเนวิน ชิดชอบ ประธานสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ได้โพสต์อินโฟกราฟิกของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ ระบุข้อความว่า “วัคซีนทิพย์ ฉีดไม่ได้ ป้องกันโควิดไม่ได้”

“บุรีรัมย์ยืนยันไม่มีแอสตร้าเซนเนก้า 1 ล้านโดส ตามกระแสข่าว เนื่องจากแอสตร้าเซนเนก้า ที่ส่งมาจากประเทศเกาหลีมายังประเทศไทยล็อตแรกเพียง 117,000 โดส และรอส่งเข้ามาตามกำหนดอีก 6 ล้านโดส

ขณะที่บุรีรัมย์ ได้รับจัดสรรวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าในดือนมิถุนายน (พร้อมกันทั่วประเทศ) 24,000 โดส ซึ่งกระแสข่าวส่งมาที่บุรีรัมย์ 1 ล้านโดส ไม่เป็นความจริง”

ก่อนหน้านี้ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข กล่าวถึงกระแสข่าวที่ จ.บุรีรัมย์ ได้รับการจัดสรรวัคซีนมากกว่าจังหวัดอื่นๆ ว่า ตนยังมีสติครบอยู่ ตนเป็น ส.ส.และรัฐมนตรีจากบุรีรัมย์ แต่ไม่ทำแบบนั้น เพราะทำไปเกิดแต่โทษ ไม่ได้เกิดประโยชน์ พร้อมยืนยันว่า การกระจายวัคซีนทำตามคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.)

อนึ่ง ข้อมูล ณ วันที่ 7 มิ.ย. ที่ผ่านมา จังหวัดบุรีรัมย์ได้รับการจัดสรรวัคซีน รวม 151,700 โดส ประกอบด้วย วัคซีนซิโนแวค 135,600 โดส วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 16,100 โดส แต่หลังจากนั้น ไม่สามารถตรวจสอบได้ เพราะกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ไม่ได้เผยแพร่ข้อมูล

อ่านประกอบ : เผย 10 อันดับแรก จังหวัดได้รับจัดสรรวัคซีนโควิด-19 สูงสุด กรุงเทพฯ เยอะสุด รองลงมาภูเก็ต-นนทบุรี

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.