มีเหมือนกัน! ไทยลีก โชว์หลักสูตร CPR ช่วยนักบอลในสถานการณ์ฉุกเฉิน – ผู้จัดการออนไลน์
เพจฟุตบอลทีมชาติไทย ได้โพสต์ว่าไทยลีก และสมาคมฯ ได้มีการอบรมบุคลากรของสโมสรและเจ้าหน้าที่เรื่องการปฐมพยาบาล เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ในศึกหุตบอลยูโร 2020
“จากเหตุการณ์ในการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2020 ระหว่างทีมชาติเดนมาร์ก และ ทีมชาติฟินแลนด์ ที่คริสเตียน อีริคเซ่น เพลย์เมคเกอร์ทีมชาติเดนมาร์ก ได้หมดสติลงไป จนต้องเข้าปฐมพยาบาลอย่างเร่งด่วนนั้น ทำให้เห็นได้ว่าเรื่องการแพทย์ และการปฐมพยาบาลในสนามถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งของฟุตบอลสมัยใหม่
ซึ่งไทยลีก และสมาคมฯ เอง ก็ได้มีการจัดอบรมด้านแพทย์สนามอยู่เสมอ ให้กับผู้ปฏิบัติการข้างสนาม บุคลากรของสโมสร และสาธิตการใช้อุปกรณ์ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดต่อนักกีฬาที่ทำการแข่งขันอยู่ในสนาม รวมถึงสร้างความเข้าใจสำหรับการปฏิบัติตัวของผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงปฏิบัติงานได้จริงในสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวด้วย”
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.