Football Sponsored

อยู่บราซิลได้หลักล้าน พอโอนเล่นทีมชาติยูเออี ลิม่า ฟันเป็นร้อยล้าน – สยามกีฬา

Football Sponsored
Football Sponsored

Badalo สื่อในประเทศบราซิลออกมานำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการเจริญเติบโตด้านการเงินของแข้งอย่าง ฟาบิโอ ลิม่า ที่ตัดสินใจโอนสัญชาติมารับใช้ทีมยูเออี ในทวีปเอเชีย ซึ่งในช่วงของการเริ่มต้นเมื่อ 20ปี ที่แล้วบนเส้นทางฟุตบอลอาชีพในบราซิล ตอนอายุ 18ปีกับสโมสรอีซาซาร์ ในบ้านเกิด ช่วงปี 2011 มีรายได้น้อยกว่าตอนนี้ในการโลดแล่นบนลีกยูเออีถึง 20 เท่า ตัวในเรื่องของค่าเหนื่อยที่ได้รับ

    โดยทางด้านสื่อบราซิลอย่าง  Badalo ออกมาเผยถึงรายละเอียด ฟาบิโอ ลิม่า  ดาวเตะเกมรุกโอนสัญชาติทีมชาติยูเออี วัย 27 ปี  ว่าสมัยที่ค้าแข้งในบราซิล ช่วงอายุ 18 ปี กับทีม อีซาซาร์ เขาได้ค่าเหนื่อย 1.5 แสนยูโร  (ประมาณ 5.77 ล้านบาทต่อปี)  ซึ่งเส้นทางฟุตบอลในบราซิลกับการลงเล่นให้กับสโมสรแอตเลติโก โกไอเนเซ่,วาสโก ดากาม่า ยังมีค่าเหนื่อยไม่สูงมาก แต่หลังออกมาพิสูจน์ตัวเองต่างแดนในลีกยูเออีกับ อัล วาสเซิล  พร้อมกับโอนสัญชาติเล่นให้ทีมชาติยูเออี มูลค่าในปัจจุบันของรายได้สูงขึ้นถึง 20เท่า มีมูลค่า 3 ล้านยูโรฯ (ประมาณ 114 ล้านบาท)

    สำหรับ ฟาบิโอ ลิม่า  แข้งบราซิล วัย 27 ปี ที่โอนสัญชาติ มาเล่นให้ทีมชาติ ยูเออี ถูกจับตามองว่าจะเป็นตัวแทนของ โอมาร์  อับดุลระห์มาน กองกลางพรสวรรค์ที่มีอาการบาดเจ็บเล่นงาน เพราะแข้งรายนี้มีความสามารถที่ยอดเยี่ยมแถมการยิงประตูที่เฉียบคม ฤดูกาลที่ผ่านมาลงเล่นให้อัลวาสเซิล 24 เกมยิงไป23 ประตู  ขณะที่การลงรับใช้ทีมชาติยูเออีลงเล่นไปแล้ว 9 เกม ยิงไป 4  ประตู

อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.