ทีมดังอินโดฯเดินหน้าคว้าแข้งบุรีรัมย์ร่วมทัพ – สยามกีฬา
Tribun news สื่ออินโดนีเซีย ออกมารายงานว่า สโมสรในลีกา 1 ซึ่งเป็นเรียกสูงสุดของอินโดนีเซีย เดินหน้าเปิดโต๊ะเจรจาคว้าตัว แบรนดอน โอนีล กองกลางตัวรับ สโมสรฟุตบอล “ปราสาทสายฟ้า”บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ไปร่วมทัพเพื่อสู้ศึกฤดูกาลใหม่ที่จะเปิดขึ้นในช่วงเดือน มิ.ย.64
โดยสื่อดังกล่าวรายงานว่าสโมสรเปอร์ซิป บันดุง กำลังเดินหน้าเจรจาคว้าตัว แบรนดอน โอนีล กองกลางตัวรับ วัย 27 ปี ของสโมสรฟุตบอล “ปราสาทสายฟ้า”บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ที่กำลังจะหมดสัญญาไปร่วมทีมเพื่อสู้ศึกฤดูกาลใหม่ ในเวทีไทยลีกฤดูกาล 2020-21 แข้งออสเตรเลีย รายนี้ลงเล่นไปทั้งหมด 10 เกม ตัวจริง 7 เกม สำรอง 3 เกม
สำหรับ แบรนดอน โอนีล กองกลางวัย 27 ปี ดีกรีทีมชาติออสเตรเลีย ผ่านการค้าแข้งมาหลายสโมสรทั้ง เพิร์ธกลอรี่,ซิดนีย์ เอฟซี(ออสเตรเลีย),โปฮัง สตีลเลอร์(เกาหลีใต้) และ โยกมาค้าแข้งไทยลีกกับ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ฤดูกาลที่ผ่านมา
อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.