สมุทรปราการซิตี้ดึง จุน ฟูคุดะ นั่งผอ.พัฒนาเยาวชนสโมสร – สยามกีฬา
“เขี้ยวสมุทร” สมุทรปราการซิตี้ ทีมไทยลีก 1 ประกาศแต่งตั้ง จุน ฟูคุดะ โค้ชมากประสบการณ์ ชาวญี่ปุ่น วัย 44 ปี เป็นผู้อำนวยการพัฒนาทีมเยาวชนของสโมสร
“บอสโจ” คุณธเนศ พานิชชีวะ ประธานบริหารสโมสร กล่าวถึงการตัดสินใจแต่ตั้งจุน ฟูคุดะ ว่า “ยินดีต้อนรับ ฟูคุดะซัง ที่เข้ามาร่วมงานกับสโมสรฯกับการพัฒนานักฟุตบอลเยาวชนไทยในสังกัดของสโมสรฯ ร่วมกับ มาซาทาดะ อิชิอิ กุนซือใหญ่ของเรา ซึ่งเป็นนโยบายหลักของเราอยู่แล้ว ที่ต้องการพัฒนาเยาวชนอย่างมีระบบ ให้ก้าวไปเป็นกำลังสำคัญของทีมชุดใหญ่ และทีมชาติไทยในอนาคต”
สำหรับ จุน ฟูคุดะ มีดีกรีเป็นถึงโค้ช เอ ไลเซนส์ จาก ยูฟ่า เริ่มต้นอาชีพโค้ชเมื่อปี 2013 ด้วยการคุมทัพ เอฟซี อูลานบาตอร์ ลีกสูงสุดของประเทศมองโกเลีย ต่อด้วยการย้ายมาคุมทีม ลาว โตโยต้า เอฟซี ในปี 2018 พาทีมคว้าแชมป์ ลาว พรีเมียร์ลีก 3 สมัยติดต่อกัน ในปี 2018, 2019 และ 2020 ก่อนตัดสินใจมาหาความท้าทายใหม่ๆ ที่ประเทศไทย กับสโมสรฟุตบอลสมุทรปราการซิตี้
อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.