Football Sponsored

ไม่สนยูฟ่า! 3 บิ๊กสโมสรแถลงร่วมไม่ล้มแผนแข่ง ซูเปอร์ ลีก – ข่าวสด – ข่าวสด

Football Sponsored
Football Sponsored

เรอัล มาดริด, บาร์เซโลนา และยูเวนตุส ออกแถลงการณ์ร่วมกันว่าจะไม่ล้มแผนแข่งขันศึก ยูโรเปียน ซูเปอร์ ลีก แม้จะโดน ยูฟ่า ขู่ว่าจะลงโทษหนัก

เกาะติดข่าว กดติดตาม ข่าวสด

ก่อนหน้านี้ สหพันธ์ฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) ได้ประกาศบทลงโทษของ 9 ทีมร่วมก่อตั้ง ยูโรเปียน ซูเปอร์ ลีก แม้ได้ถอนตัวออกมาแล้ว นั่นก็คือการสั่งปรับเงิน 15 ล้านยูโรเพื่อทำประโยชน์ให้กับเยาวชน และฟุตบอลระดับรากหญ้าทั่วยุโรป รวมถึงโดนหักรายได้ 5% จากการแข่งขันรายการที่ ยูฟ่า จัดเป็นเวลา 1 ฤดูกาล

  • ยูฟ่า ลงดาบปรับเงิน 9 ทีมเอี่ยว ซูเปอร์ ลีก – อีก 3 ทีมจ่อโดนโทษหนัก
  • ยูฟ่า ปรับรูปแบบ ยูซีแอล – ยันชัดแบนแข้งเอี่ยว ซูเปอร์ ลีก
  • ห้ามยุ่งเกี่ยว! ยูฟ่า สั่งแบนทีม-นักเตะหากร่วมฟาดแข้งซูเปอร์ลีก

นอกจากนั้น ยูฟ่า ยังมีการขู่อีก 3 ทีมที่ยังไม่ถอนตัวว่าเตรียมโดนลงโทษทางวินัย เช่น การโดนแบนจากการแข่งขันรายการยุโรป

อย่างไรก็ตามล่าสุดทั้ง 3 ทีมอย่าง เรอัล มาดริด, บาร์เซโลนา และยูเวนตุส ออกแถลงการณ์ร่วมกันว่าโปรเจกต์ ซูเปอร์ ลีก จะดำเนินต่อไป แม้จะโดนขู่ลงโทษ “สโมสรที่ก่อตั้งลีกได้รับความเดือดร้อน แรงกดดัน และและการคุกคามให้ทิ้งโครงการนี้เป็นสิ่งที่รับไม่ได้”

“เราจะขาดความรับผิดชอบอย่างมากหากละทิ้งภารกิจที่ทำให้เราตะหนักถึงความต้องการ และวิกฤตเชิงระบบในฟุตบอลซึ่งทำให้เราก่อตั้งประกาศซูเปอร์ ลีก เรามีหน้าที่ต้องดำเนินการด้วยความรับผิดชอบ และมุ่งมั่นในการแสวงหาแนวทางแก้ไขที่เหมาะสม แม้จะได้รับแรงกดดัน และภัยคุกคามที่ไม่สามารถยอมรับได้จาก ยูฟ่า ก็ตาม”

A metal figure of a football player with a ball is seen in front of the words “European Super League” and the UEFA logo in this illustration taken April 20, 2021. REUTERS/Dado Ruvic/Illustration

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.