Football Sponsored

สโคลส์ชี้จุดที่ต่างกันมากระหว่างเจ้าของแมนยู-แมนซิตี้ – สยามกีฬา

Football Sponsored
Football Sponsored

พอล สโคลส์ อดีตยอดมิดฟิลด์ของ แมนฯ ยูไนเต็ด ระบุ หนึ่งในความแตกต่างกันอย่างมากระหว่างเจ้าของทีม แมนฯ ยูไนเต็ด กับ แมนฯ ซิตี้ ก็คือการที่ฝั่งผู้บริหาร “ปีศาจแดง” แทบไม่ตอบแทนสังคมเลย ต่างกับของฝั่ง “เรือใบสีฟ้า” ที่ตอนนั้นทำให้แถวนั้นกลายเป็นสถานที่ที่น่าอยู่สุดๆ

   พอล สโคลส์ ตำนานกองกลางของ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด สโมสรดังของศึก พรีเมียร์ลีก อังกฤษ กล่าวว่าที่ผ่านมาตระกูลเกลเซอร์ ซึ่งเป็นเจ้าของทีม “ปีศาจแดง” ไม่เคยมอบอะไรให้กับชุมชนที่อยู่แถว โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด เลย ซึ่งต่างกับ ซิตี้ ฟุตบอล กรุ๊ป กลุ่มทุนเจ้าของทีม แมนเชสเตอร์ ซิตี้ อย่างสิ้นเชิง

   ตระกูลเกลเซอร์เป็นที่เกลียดชังของแฟนบอล แมนฯ ยูไนเต็ด มานานแล้ว และกระแสต่อต้านในตัวพวกเขาก็รุนแรงขึ้นหลังจากผู้บริหารของ แมนฯ ยูไนเต็ด เคยคิดที่จะให้ทีมไปเล่นศึก ยูโรเปี้ยน ซูเปอร์ลีก จนเป็นการแยกตัวจากรายการระดับทวีปของสหพันธ์ฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) ไปในตัว ซึ่งการประท้วงก็รุนแรงจนถึงขั้นทำให้เกมแดงเดือดต้องโดนยกเลิกมาแล้ว จากการที่มีแฟนบอลกลุ่มหนึ่งบุกเข้าไปภายในสนามได้

   ในทางตรงกันข้าม ซิตี้ ฟุตบอล กรุ็ป กลับไม่ได้โดนประท้วงจากแฟนบอลของ แมนฯ ซิตี้ มากเท่าไหร่นักแม้ว่าพวกเขาก็เคยคิดที่จะให้ทีมไปเล่น ยูโรเปี้ยน ซูเปอร์ลีก เหมือนกันก็ตาม ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะที่ผ่านมาพวกเขาทำหลายอย่างให้กับ “เรือใบสีฟ้า” ไม่ว่าจะเป็นการอนุมัติงบเสริมทัพอย่างเต็มที่จนทำให้ทีมประสบความสำเร็จอย่างมาก, วางโครงสร้างของสโมสรได้ดี และการตอบแทนชุมชนแถวนั้น

   สโคลส์ เผยว่า “ผมคิดว่าตอนนี้ตระกูลเกลเซอร์คงทำอะไรมากไม่ได้แล้ว (หมายถึงการทำบางอย่างเพื่อซื้อใจแฟน แมนฯ ยูไนเต็ด) เพราะมันอยู่ในสภาพที่เลวร้ายมานานมาก พวกเขาทำตัวได้น่าผิดหวังสุดๆ สโมสรต้องมีหนี้ท่วมหัวและการขาดการสื่อสารระหว่างกันที่ดีก็เป็นปัญหาใหญ่”

   พอโดนถามเพิ่มว่าตระกูลเกลเซอร์ควรจะทำอะไรหลังจากนี้ สโคลส์ ก็เสริมว่า “พวกเขาต้องมอบบางอย่างกลับให้กับชุมชนบ้าง ซึ่งที่ผ่านมาพวกเขาไม่เคยทำอย่างนั้นเลย สนามตอนนี้มันดูเก่ามากๆ มันดูโทรมสุดขีด ที่เลวร้ายกว่านั้นก็คือลองมองข้ามฟากไปยัง แมนเชสเตอร์ ซิตี้ ดูสิ ผมเคยพูดไปตั้งแต่สัปดาห์ก่อนแล้วว่าที่จริงก่อนหน้านี้ฝั่งตะวันออกของเมืองแมนเชสเตอร์มันมีสภาพที่เลวร้ายมากๆ แต่ตอนนี้ถ้าคุณไปแถวนั้นคุณก็จะพบว่ามันมีสภาพที่ยอดเยี่ยมสุดๆ พวกเขามีทั้งสนามซ้อมที่ดีและสนามแข่งที่วิเศษ พวกเขากำลังสร้างบ้านที่สวยงามกัน พวกเขาปฏิรูปพื้นที่แถวนั้นทั้งหมด มันมีความแตกต่างกันอย่างมากระหว่าง 2 สโมสรนี้”

อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.